More
    หน้าแรกหนังสือพัฒนาตนเองรีวิว ทำไมเราไม่ฟังกัน : สิ่งสำคัญที่หล่นหายเมื่อเราไม่ตั้งใจฟัง

    รีวิว ทำไมเราไม่ฟังกัน : สิ่งสำคัญที่หล่นหายเมื่อเราไม่ตั้งใจฟัง

    ทุกคนต่างต้องการที่จะพูดเพื่อส่งสารของตนเองออกไปทั้งสิ้น แต่หากไม่มีผู้ฟังการพูดนั้นก็ไม่ก่อให้เกิดผลใดๆ ตามมา "ทำไมเราไม่ฟังกัน : สิ่งสำคัญที่หล่นหายเมื่อเราไม่ตั้งใจฟัง" ชวนให้คุณลองกลายเป็นผู้ฟังอย่างตั้งใจแล้วคุณจะมองเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของการฟัง

    -

    ในสังคมปัจจุบันที่ทุกคนต่างต้องการส่งเสียงของตัวเองออกไปเพื่อให้ผู้อื่นได้รับสารที่ตัวเองสื่อออกมา แต่ในเมื่อคนส่วนใหญ่ต้องการที่จะพูดจนทุกคนอาจต่างหลงลืมไปว่าเมื่อมีผู้ “พูด” ย้อมต้องมีผู้ “ฟัง” เสมอ เพื่อมารับฟังในสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อสารออกมาด้วยเช่นกัน เพราะหากมีแต่คนพูดแต่ไม่มีคนฟังการสื่อสารที่ส่งออกไปย่อมไม่ส่งผลใดๆ กลับมา ในวันนี้หนังสือที่เรานำมารีวิวได้มุ่งเน้นไปที่ให้ทุกคนลองหยุดแล้วลองเป็นผู้ฟังที่ดีกับหนังสือ ทำไมเราไม่ฟังกัน : สิ่งสำคัญที่หล่นหายเมื่อเราไม่ตั้งใจฟัง ที่จะนำเสนอถึงความสำคัญ ประโยชน์และคุณค่าของการฟัง ไม่ใช่แค่เพื่อความรู้แต่รวมไปถึงการฟังเพื่อรับทราบถึงปัญหาและเพื่อให้เข้าใจคนรอบข้างเรามากขึ้น รีวิวโดยเพจ รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก ที่จะมาแชร์ความรู้สึกหลังจากได้สัมผัสหนังสือเล่มนี้กับ รีวิว ทำไมเราไม่ฟังกัน : สิ่งสำคัญที่หล่นหายเมื่อเราไม่ตั้งใจฟัง

    รีวิว ทำไมเราไม่ฟังกัน ความสำคัญของการฟังที่คนส่วนใหญ่มักมองข้าม

    ทำไมเราไม่ฟังกัน
    ทำไมเราไม่ฟังกัน

    “ในชีวิตนี้คุณเคย ฟัง ใครจริงๆบ้างหรือยัง” ทุกวันนี้เรากำลังเจอกับวิกฤตการฟัง มีคนมากมายที่อยากจะพูดเเต่มีคนน้อยมากที่อยากจะฟัง จึงไม่แปลกเลยที่คนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกเหงาเมื่ออยู่ท่ามกลางคนจำนวนมาก วันนี้รีวิวทุกอย่างที่อ่านออกเลยอยากจะพาทุกคนมาย้ำเตือนความสำคัญของการฟังที่หลายคนอาจจะหลงลืมไปผ่านหนังสือที่มีชื่อว่า ‘ทำไมเราไม่ฟังกัน: สิ่งสำคัญที่หล่นหายเมื่อเราไม่ตั้งใจฟัง’ ไปด้วยกันค่ะ

    คุณ Kate Murphy ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มีอาชีพเป็นนักเขียนคอลัมน์ลงหนังสือพิมพ์ บทความที่เธอเขียนเป็นบทความที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านเป็นอย่างมาก ที่น่าสนใจคือบทความของเธอได้รับความนิยมโดยที่ไม่ใช่เรื่องอื้อฉาวของคนดัง สิ่งที่เธอเขียนเป็นเพียงเเค่การถ่ายทอดบทสัมภาษณ์ที่ผู้ถูกสัมภาษณ์พูดถึงสิ่งที่ทำให้พวกเขามีความสุข เศร้า หรือสิ่งที่พวกเขาสนใจ โดยเธอบอกว่าความสำเร็จทั้งหมดเกิดจากการที่เธอเป็น ‘ผู้ฟังที่ดี’

    ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้เลยจะอยู่ที่การนำเสนอความสำคัญของการฟัง ซึ่งหาได้น้อยที่จะมีหนังสือเเบบนี้ออกมา เพราะปกติเเล้วเราจะเห็นเเต่หนังสือที่เน้นพัฒนาในเรื่องการพูดเพื่อสื่อสารกับคนอื่นมากกว่า

    เริ่มเเรกเราจะมาพูดถึงก่อนว่า ทำไมเราต้องฟัง? ประโยชน์ของการฟังมีมากกว่าที่เราทุกคนคิดไว้มาก เราคาดไม่ถึงเลยว่าการฟังจะช่วยลดการเกิดคดีร้ายเเรงได้ ที่บอกเเบบนี้เพราะจากการสอบสวนพบว่ามือปืนที่ก่อคดีกราดยิงส่วนใหญ่มักจะไม่ได้เป็นโรคจิตเเต่จะมีอาการซึมเศร้าเเละเหงาเเทน พวกเขามักจะรู้สึกว่าไม่มีใครรับฟัง ทำให้พวกเขาฟังเเต่สิ่งผิดๆ ที่พวกเขาบอกกับตัวเอง จนกระทั่งก่อเหตุร้ายขึ้นในที่สุด ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเเต่เเรกเลยถ้าคนรอบข้างรับฟังพวกเขาอย่างจริงใจในเวลาที่พวกเขามีปัญหา

    บุคคลที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ก็มักจะมีทักษะด้านการฟังที่ดีเเละรู้จักใช้มันมาต่อยอดกับธุรกิจของพวกเขาได้ อย่างเช่น ผู้ก่อตั้งอิเกียที่เขามักจะแอบไปที่ร้านของตัวเองโดยที่ไม่เปิดเผยตัวตนเพื่อที่จะรับฟังมุมมองของพนักงานเเละลูกค้า หรือเเม้เเต่สตีฟ จ็อบส์ ที่ก็เห็นความสำคัญของการฟังเป็นอย่างมาก สตีฟ จ็อบส์มักจะจ้างงานคนที่ชอบโต้เถียงความคิดของเขา จนในทุกปีพนักงานเเอปเปิ้ลถึงกับต้องมอบรางวัลให้กับคนที่ต่อต้านสตีฟ จ็อบส์ได้ดีที่สุด

    เเต่การฟังที่ดีไม่ใช่เรื่องง่าย หลายจุดในหนังสือเล่มนี้ทำให้เราต้องกลับมาคิดทบทวนตัวเองว่าการฟังที่ดีในเเบบที่เราเคยเข้าใจมาตลอดนั้นใช่การฟังที่ดีจริงๆ หรือเปล่า ผู้เขียนบอกว่าคนส่วนใหญ่มักจะเเสดงพฤติกรรมการฟังที่เเย่ออกไปโดยที่ไม่รู้ตัว อย่างเช่น การไม่ฟังเพราะคิดว่ารู้อยู่เเล้วว่าอีกฝ่ายจะพูดอะไรเเละการฟังโดยที่คิดอยู่ในหัวตลอดว่าตัวเองจะพูดอะไรต่อเมื่อผู้พูดพูดจบ

    บทที่ชื่อว่า ‘รู้นะว่าจะพูดอะไร’ เป็นหนึ่งในบทที่เราชอบมาก บทนี้ทำให้เรากลับมาใส่ใจถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้างมากขึ้น เพราะถ้านึกดูดีๆเ เล้วคนที่เรามักจะละเลยหรือไม่ฟังสิ่งที่เค้าพูดมากที่สุดคือคนใกล้ตัวเราเอง เรามักจะคิดเอาเองว่าเรารู้จักเขาดีที่สุด ซึ่งปัญหานี้เองเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คู่เเต่งงานหลายคู่ไปกันไม่รอด เนื้อหาในบทนี้เลยสอนเราว่าสุดท้ายเเล้ววิธีที่ดีที่สุดที่จะรักษาความสัมพันธ์ไว้ก็คือ ‘การพูดคุยกัน’

    ยิ่งไปกว่านั้นการจะเป็นผู้ฟังที่ดีได้ต้องอาศัยหลายทักษะมาช่วย หนึ่งในนั้นคือการตั้งคำถามที่ดี ผู้เขียนได้บอกไว้ว่า “นักฟังที่ดีคือนักถามที่ดี การถามส่งเสริมการฟังเเละการฟังก็ส่งเสริมการถามเช่นกัน เพราะคุณต้องฟังเพื่อถามคำถามที่เหมาะสมเเละสอดคล้อง อีกทั้งการถามเปิดอกด้วยความสงสัยใคร่รู้อย่างจริงใจจะทำให้การสนทนามีความหมายมากขึ้นไปอีก” ถ้าใครไม่เชื่อลองไปค้นหาคำว่า ‘36 คำถามที่นำไปสู่ความรัก’ เเล้วไปลองใช้กับคนที่คุณเเอบชอบดูค่ะ เเล้วคุณจะรู้ว่าพลังของการรับฟังเเละตั้งคำถามนั้นมีมากเเค่ไหน

    หัวข้อสุดท้ายที่เราจะพูดถึง คือ สิ่งที่ยากที่สุดในเรื่องการฟัง สำหรับสิ่งที่ยากที่สุดในการฟังในมุมมองของเราคือ การฟังความเห็นที่เเตกต่าง ในหลายครั้งเราจะเห็นคนที่มีมุมมองทางการเมืองที่เเตกต่างกันมักจะปฏิเสธผู้พูดฝ่ายตรงข้ามก่อนที่จะฟังพวกเขาพูดด้วยซ้ำ โดยสิ่งนี้สามารถใช้หลักการณ์ทางวิทยาศาสตร์มาช่วยอธิบายได้ค่ะ

    เพราะโดยปกติเเล้วสมองส่วนที่เป็นสัญชาตญาณจะตีความเห็นที่เเตกต่างว่าเป็นการถูกทอดทิ้ง อยู่ลำพังเเละไม่มีใครปกป้อง คนส่วนใหญ่ที่มีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันจึงมักจะเถียงกันเเทนที่จะรับฟังกันเเละกัน เเต่สุดท้ายเเล้วการไม่รับฟังก็ไม่ใช่ทางออกที่ดี การฟังเพื่อหาว่าคนอื่นได้ข้อสรุปมาอย่างไรเเละหาว่าเราสามารถเรียนรู้อะไรจากพวกเขาได้น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า

    อีกเรื่องที่เราชอบในหนังสือเล่มนี้คือ ในบทหลังๆ ผู้เขียนนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยอธิบายเรื่องเกี่ยวกับการฟังได้น่าสนใจดี มันทำให้เรารู้สิ่งเเปลกๆ เต็มไปหมด อย่างเช่น เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าเราสามารถตีความได้ว่าคนๆ นั้นกำลังมีความอ่อนไหวด้านอารมณ์อยู่หรือไม่ผ่านการยกหูของเขา หรือทำไมการคุยเรื่องเครียดๆ ในที่ๆ มีเเสงน้อยถึงทำให้เรื่องเครียดนั้นดูเบาบางลง

    เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ถ้าทุกคนสังเกตดีๆ จะเห็นว่าในบทความนี้เราจะไม่ได้บอกเป็นข้อๆ ให้ทุกคนฟังว่าการฟังที่ดีควรมีอะไรบ้าง เเต่จะเน้นไปที่การพูดถึงความสำคัญของการฟังเเละปัญหาของการฟังโดยภาพรวมมากกว่า นั่นเป็นเพราะว่าเราอยากให้ทุกคนไปหาคำตอบกันต่อในหนังสือเล่มนี้ค่ะว่าวิธีการฟังที่ดีจริงๆ เเล้วควรเป็นยังไงกันเเน่

    Favorite quote of a book


    “วิวัฒนาการสร้างให้เรามีเปลือกตาเพื่อที่จะได้ปิดตาเอาไว้ เเต่ไม่ได้มีโครงสร้างเเบบเดียวกันนี้สำหรับปิดหู นั่นบ่งบอกว่าการฟังสำคัญต่อการอยู่รอดของเราเป็นอย่างยิ่ง” (หน้า 45)


    Score Explanation
    Writing Style: 8/10
    เพราะผู้เขียนใช้ภาษาที่อ่านเเล้วเข้าใจง่าย ประกอบกับมีการนำเรื่องราวของบุคคลที่มีชื่อเสียงเเละงานวิจัยมาใช้ยกตัวอย่างค่อนข้างเยอะ ซึ่งเราว่ามันทำให้หนังสืออ่านสนุกมากขึ้นกว่าการที่ผู้เขียนๆเนื้อหานั้นขึ้นมาลอยๆ
    Time worthiness: 8/10
    เพราะมีการเเบ่งสัดส่วนเนื้อหาในเเต่ละบทได้ดี อีกทั้งการเน้นใจความสำคัญของ message หลักยังช่วยให้เราจับใจความสำคัญของเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
    Content Usefulness: 9/10
    เพราะหนังสือเล่มนี้สอนทักษะด้านการฟังหลายอย่างที่ไม่เคยมีใครสอนเรามาก่อน ซึ่งทักษะการฟังเป็นทักษะพื้นฐานที่ทุกคนควรที่จะเรียนรู้เอาไว้

    ขอบคุณรีวิวดีๆ จากเพจ รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก ด้วยนะคะที่นำหนังสือดีๆ เล่มนี้มารีวิวให้เราได้อ่านกัน อ่านจบแล้วหลายๆ คนคงตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของการฟังมากขึ้นอย่างแน่นอนว่าก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและคนรองข้างยังไง เพราะไม่ใช่แค่ความรู้ที่ได้รับเมื่อเราตั้งใจฟังมากขึ้นแต่รวมถึงการเข้าใจและเยี่ยวยาผู้พูดเมื่อเขาต้องการให้มีคนรับฟัง ใครที่อยากติดตามเนื้อหาข้างในต่อว่ามีอะไรที่น่าสนใจนอกเหนือจากที่รีวิวก็อย่าลืมไปหาซื้อมาอ่านต่อนะคะ เป็นอีกเล่มที่นักอ่านทั้งหลายไม่ควรพลาดเลย

    รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก
    รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก
    รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก คนชอบอ่านหนังสือที่เริ่มต้นมาจากอยากทำสรุปให้ตัวเองอ่าน เพราะอ่านแล้วลืมว่าหนังสือเล่มนี้ดียังไง จนมาถึงเพจที่มีผู้ติดตามหลายหมื่น มาร่วมสังคมรักการอ่านด้วยกันนะคะ :)

    บทความล่าสุด

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้พัฒนาศาสตร์แห่งการสื่อสารและสร้างสัมพันธ์

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้มีผลงานมุ่งเน้นในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และบุคลิกภาพที่ดีให้แก่ผู้คนที่พบปัญหาด้านนี้ พร้อมทั้งได้สร้างงานเขียนและสถาบันที่ส่งเสริมให้คนมีความมั่นใจในตนเองได้มากขึ้น

    รีวิว เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก

    รีวิว "เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก" จากนักวาดภาพประกอบแพซ็องแท ที่มีผู้ติดตามกว่า 100000 คนจะมาบอกเล่าเรื่องราวความรักและชีวิตคู่ของเขาและภรรยาพร้อมกับแมวอีกสองตัว ให้คุณได้สมัผัสความอบอุ่นของความรักที่งดงาม

    อ่านตาม เยริ (Yeri) น้องสาวคนเล็กจาก red velvet

    อ่านตาม เยริ (Yeri) น้องเล็กของ red velvet ที่มากด้วยความสามารถและเสน่ห์ที่ใครๆ ต่างก็หลงใหลพร้อมๆ กับชั้นหนังสือที่เธอได้อ่านที่มีความน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้กัน จะมีเล่มไหนบ้างติดตามได้ในบทความนี้

    Battle of Stalingrad หนึ่งในสมรภูมิชี้ชะตาในสงครามโลกครั้งที่ 2

    ยุทธการที่สตาลินกราด (Battle of Stalingrad) หนึ่งในสมรภูมิที่ยากลำบากที่สุดในการต่อสู่ระหว่างมนุษย์ หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญอันนำมาสู่การตัดสินชี้ขาดของสงครามโลกครั้งที่และการสูญเสียเหลือคณานับ
    - Advertisement -spot_imgspot_img

    รู้จัก “โรคไต” กับ 150 ข้อควรรู้เกี่ยวกับภัยร้ายที่ถูกมองข้าม

    โรคไต หนึ่งในโรคร้ายที่มีผู้ป่วยมากมายพบปัญหากับโรคนี้ในปัจจุบัน ทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบาก มาทำความรู้จักโรคไตกันลึกซึ้ง พร้อมหนังสือแนะนำสำหรับดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคไตและหลีกเลี่ยงโรคนี้

    อ็องเดร ฌีด (André Gide) นักเขียนรางวัลโนเบลผู้ให้ความสนใจปัญหาสังคมและวัฒนธรรมฝรั่งเศส

    อ็องเดร ฌีด (André Gide) เนักเขียนชาวฝรั่งเศสผู้ชื่นชอบการสำรวจ แสวงหาความหมายและคุณค่าของชีวิต ตลอดจนกระทั่งปัญหาสังคมในชีวิตประจำวันของฝรั่งเศส ทั้งยังนำเอาเรื่องราวเหล่านั้นสร้างสรรค์ผลงานจนได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา

    บทความแนะนำ

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้พัฒนาศาสตร์แห่งการสื่อสารและสร้างสัมพันธ์

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้มีผลงานมุ่งเน้นในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และบุคลิกภาพที่ดีให้แก่ผู้คนที่พบปัญหาด้านนี้ พร้อมทั้งได้สร้างงานเขียนและสถาบันที่ส่งเสริมให้คนมีความมั่นใจในตนเองได้มากขึ้น

    รีวิว เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก

    รีวิว "เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก" จากนักวาดภาพประกอบแพซ็องแท ที่มีผู้ติดตามกว่า 100000 คนจะมาบอกเล่าเรื่องราวความรักและชีวิตคู่ของเขาและภรรยาพร้อมกับแมวอีกสองตัว ให้คุณได้สมัผัสความอบอุ่นของความรักที่งดงาม
    - Advertisement -spot_img

    เราคิดว่าคุณน่าจะชอบRELATED