More
    หน้าแรกหนังสือพัฒนาตนเอง"ถ้าไอน์สไตน์เป็นฉัน จะแก้ปัญหานี้อย่างไร" เทคนิควิธีคิดแบบไอน์สไตล์

    “ถ้าไอน์สไตน์เป็นฉัน จะแก้ปัญหานี้อย่างไร” เทคนิควิธีคิดแบบไอน์สไตล์

    "ถ้าไอน์สไตน์เป็นฉัน จะแก้ปัญหานี้อย่างไร" ไอน์สไตน์ สุดยอดนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกที่ฝากผลงานไว้มากมาย หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ชายคนนี้ประสบความสำเร็จ คือ วิธีคิดอันเป็นเอกลักษณ์และนอกกรอบจากความคิดเดิม มาเรียนรู้วิธีคิดในแบบฉบับนักวิทยาศาสตร์ท่านนี้ หลักการและวิธีคิดแบบเขาอาจนำพาเราไปพบคำตอบที่แตกต่างไปจากเดิม

    -

    ไอน์สไตล์ หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญคนหนึ่งของโลกที่หลายๆ คนคุ้นชื่อนี้กันเป็นอย่างดี สิ่งที่ทำให้ไอน์สไตล์เป็นที่ถูกกล่าวถึงมาจนปัจจุบันนั้น คือ ผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์มากมายที่เขาได้คิดค้นและพบเจอ หนึ่งในเหตุผลสำคัญของความสำเร็จในผลงานต่างๆ ของไอน์สไตล์นั้น คือ วิธีการคิดที่ไม่เหมือนใคร ในวันนี้เราได้หยิบเอา “ถ้าไอน์สไตน์เป็นฉัน จะแก้ปัญหานี้อย่างไร” หนังสือที่พาเราไปรู้จักวิธี คิด วิเคราะห์ ตามแบบนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังก้องโลกคนนี้ หลักการคิดนอกกรอบของเขาที่ส่งผลให้เจ้าตัวประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง รีวิวหนังสือเล่มนี้โดยเพจ รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก ที่จะมาบอกเล่าถึงวิธีคิดตามแบบฉบับนักวิทยาศาสตร์ท่านนี้กันในรีวิว “ถ้าไอน์สไตน์เป็นฉัน จะแก้ปัญหานี้อย่างไร”

    รีวิว “ถ้าไอน์สไตน์เป็นฉัน จะแก้ปัญหานี้อย่างไร” หาคำตอบของปัญหาในแบบ ไอน์สไตล์ นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลก

    ถ้าไอน์สไตน์เป็นฉัน จะแก้ปัญหานี้อย่างไร ไอน์สไตล์
    ถ้าไอน์สไตน์เป็นฉัน จะแก้ปัญหานี้อย่างไร

    ถ้าคุณเเก้ปัญหาไม่ได้ นั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังยึดติดอยู่กับ ‘กฎเดิมๆ’ ดังนั้นทางออกคือ ‘คุณต้องเเหกกฎ’ เท่านั้น ‘ไอน์สไตน์’ เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันที่ได้สร้างความก้าวหน้าให้กับวงการวิทยาศาตร์ของโลกเป็นอย่างมาก โดยเป็นผู้คิดค้น ทฤษฎีสัมพันธภาพ ที่ต่อมานำมาต่อยอดเป็นระบบนำทางเเบบ GPS นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของวลีฮิตอย่าง ‘จินตนาการสำคัญกว่าความรู้’ วันนี้เราเลยจะพาทุกคนมาหากันค่ะว่าไอน์สไตน์ทำอย่างไรถึงสามารถเเก้ปัญหาที่ยากๆ เหล่านั้นได้ รีวิวทุกอย่างที่อ่านออกเลยจะพาทุกคนมารู้จักกับ ‘ถ้าไอน์สไตน์เป็นฉันจะเเก้ปัญหานี้อย่างไร’ หรือ ‘How to think like Einstein’ กันค่ะ

    ความลับที่ดูน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ไอน์สไตน์สามารถเเก้ปัญหายากๆ ได้ คือ ‘การเเหกกฎ’ สิ่งหนึ่งที่ทำให้บอกเเบบนี้เป็นเพราะ เราพบว่าไอน์สไตน์ผู้ซึ่งสามารถไขปริศนาเรื่องอวกาศเเละเวลาได้ ไม่ใช่เพราะว่าเขาเป็นนักวิทยาศาตร์ที่ประสบความสำเร็จอยู่เเล้ว เเต่เป็นคนที่เพิ่งจบมหาลัยมาได้ไม่กี่ปี ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเปิดรับความคิดใหม่ๆ เเละทำให้เขายังไม่ติดอยู่กับ ‘กฎเดิมๆ’ เเบบที่หลายคนเป็น

    นี่ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์เก่งๆ หลายคนที่อยู่ในยุคเดียวกับไอน์สไตน์ไขปริศนาเรื่องอวกาศเเละเวลาไม่ได้ เพราะพวกเขามัวเเต่ยึดติดอยู่กับความคิดที่ว่า ‘เวลาเป็นสิ่งที่เเน่นอน’ เมื่อรู้เเบบนี้หลายคนน่าจะอยากรู้ต่อว่า เเล้วต้องทำอย่างไรเราถึงจะสามารถคิดนอกกรอบได้ ซึ่งต้องบอกว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ

    การเสนอความคิดแปลกๆ ที่อาจดูไม่เข้าท่าในครั้งเเรกนอกจากเราจะถูกเเย้งโดยคนรอบข้างของเราเเล้ว ที่หลายคนยังไม่รู้คือ ระบบประสาทในสมองของตัวเราเองก็มีระบบที่ขัดขวางความคิดเหล่านี้ด้วยเช่นกัน โดยธรรมชาติของสมองเรามักจะประเมินความสูญเสียจากทางเลือกต่างๆ ไว้มากเกินความเป็นจริงอยู่เเล้ว ทำให้ในหลายครั้งเรามักจะปฏิเสธความคิดที่อาจก่อให้เกิดความสูญเสียเล็กน้อยเเต่ได้รับผลตอบเเทนมาก ด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องนำความคิดเเบบไอน์สไตน์เข้ามาช่วย

    วิธีการคิดเเบบไอน์สไตน์จะมีด้วยกันทั้งหมด 4 ข้อค่ะ ซึ่งเเต่ละหัวข้อนั้นจะมีหัวข้อย่อยอยู่อีกหลายหัวข้อ เราขอให้เล่าให้ฟังทุกหัวข้อเดี๋ยวจะเสียอรรถรสในการอ่าน เราเลยจะเลือกนำสิ่งที่เราคิดว่าน่าสนใจของเเต่ละข้อมาเล่าให้ทุกคนฟัง เเล้วส่วนที่เหลือเราอยากเเนะนำให้ทุกคนไปอ่านในเล่มต่อ เพื่อจะได้วิธีคิดที่ครบถ้วนตามที่หนังสือต้องการจะสื่อจริงๆ ค่ะ

    1) การเลือกปัญหาที่ยอดเยี่ยม : การระบุปัญหาเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เราต้องหาปัญหาที่เเท้จริงของเราให้เจอ ถ้าเราระบุปัญหาที่ไม่ถูกต้องเเต่เเรกเราก็จะไม่มีทางพบกับการเเก้ปัญหาที่ดีได้เลย เช่น ชายคนหนึ่งที่เป็นเจ้าของสวนเเอปเปิ้ลระบุว่าปัญหาของเขาคือการหาทางพับกระดาษที่มีอยู่ให้กลายเป็นกล่องใส่เเอปเปิ้ลที่ใหญ่ที่สุดเพื่อนำไปขายที่ตลาด เเต่เเท้จริงเเล้วปัญหาของเค้าคือ การหารายได้จากการขายเยอะๆ ไม่ใช่การพับกล่องให้ใหญ่ขึ้น พอเรารู้ปัญหาที่เเท้จริงเราก็อาจเเนะนำให้เค้าแปรรูปเแอปเปิ้ลซึ่งเป็นทางออกที่ดีกว่าได้

    นอกจากระบุปัญหาออกมาเเล้ว ผู้เขียนยังเเนะนำให้เราระบุสิ่งอื่นๆ ที่เราเจอออกมาให้เห็นชัดเจนด้วย เช่น ผลกระทบเชิงบวกเเละลบของปัญหานี้, ข้อจำกัดที่เราเจอเเละทางเเก้ไขที่เราเคยทำเเล้วเเต่ไม่สำเร็จ โดยหลักการที่สำคัญคือเราต้องระบุปัญหาออกมาให้ชัดเจนที่สุดเเละนึกถึงมันอยู่บ่อยๆ

    2) ฉีกเเบบเเผน : หัวข้อนี้เราว่าเป็นเหมือนตัวช่วยที่จะทำให้เราสามารถคิดวิธีการเเก้ปัญหาได้สร้างสรรค์มากยิ่งขึ้นเเละหลุดออกจากความคิดเเบบเดิมๆ เช่น การลองเอาความคิดตลกๆ มาช่วยในการเเก้ปัญหาเเละการลองนำเอาทางออกในการเเก้ปัญหาหลายๆ อย่างมารวมกันเพื่อเกิดเป็นทางเลือกใหม่

    3) การเเหกกฎ : สำหรับหัวข้อนี้จะว่าด้วยเรื่องกฎโดยเฉพาะเลยค่ะ ในทุกวันนี้คนเรามักจะยึดติดกับกฎเดิมๆ จนบางทีก็ลืมนึกไปว่าความจริงเเล้วกฎทุกกฎบนโลกนี้สามารถเปลี่ยนเเปลงได้เสมอถ้ามีกฎอื่นที่ดูสมเหตุสมผลกว่าขึ้นมาเเทน เเต่เราไม่ได้จะให้ทุกคนไปทำเรื่องที่ไม่ดีนะคะ การเเหกกฎในที่นี้คือการลองคิดหาทางเเก้ปัญหาที่ฉีกจากความเคยชินของเรา พูดให้ชัดขึ้นก็เหมือนกลไกการทำงานของบอลลูนที่สามารถก้าวข้ามกฎเเรงโน้มถ่วงเเล้วลอยขึ้นไปบนฟ้าได้

    4) บ่มเพาะทางออก : มาถึงตอนนี้ทุกคนจะรู้ถึงปัญหาของตัวเองเเละพอมีทางออกสำหรับปัญหาคร่าวๆ เเล้ว ขั้นตอนนี้จะช่วยทำให้ทางออกเหล่านี้กลายเป็นทางออกที่ทำได้จริง ซึ่งผู้เขียนก็ได้เเนะนำไว้อยู่หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ การมีเซ็กซ์ทางความคิด ที่หมายถึงการหยิบยืมหรือเเลกเปลี่ยนความคิดของเรากับคนอื่นเเละยิ่งถ้าบุคคลที่เราเลือกมาเเลกเปลี่ยนความคิดด้วยเป็นคนในวงการอื่นที่ต่างจากเราก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

    เเต่บางคนก็อาจจะรู้สึกว่าที่เราเล่ามาดูเป็นทฤษฎีมากเกินไป จะสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงไหม ในหนังสือเล่มนี้ก็ได้บอกการนำวิธีคิดเเบบไอน์สไตน์ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรเเละชีวิตประจำวันไว้ให้ด้วยค่ะ ในส่วนนี้เราก็จะได้เห็นว่าเเนวคิดเเบบไอน์สไตน์ไม่เพียงเเต่จะเเก้ปัญหายากๆ ได้ เเต่ยังใช้เเก้ปัญหาเล็กๆ น้อยๆป ระจำวันได้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งสี่ขั้นตอนที่เราได้บอกไว้ตอนต้น ผู้เขียนก็ได้สร้างตารางจดบันทึกไว้ให้ในส่วนภาคผนวก เพื่อให้ผู้อ่านใช้จดบันทึกปัญหาเเละหาทางออกตามไปด้วยได้

    เราว่าวิธีการที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้เเล้วสนุกที่สุดคือเราต้องคิดปัญหาของเราตามไปพร้อมกับผู้เขียนตลอดค่ะ ในหนังสือเล่มนี้มีการเสนอเเนวทางการเเก้ปัญหาไว้มากมายเเละเเน่นอนว่าไม่ใช่ทุกวิธีที่จะเหมาะกับปัญหาของเรา เเต่เราสามารถคิดตามผู้เขียนไปเรื่อยๆ เเล้วจดไว้เเค่ทางออกที่ดูเหมาะกับเราไปต่อยอดต่อได้ค่ะ ซึ่งเราว่าหลายคนต้องได้ทางออกดีๆ ไปเเน่นอน เเล้วภาพรวมการเล่าก็ไม่ได้ดูน่าเบื่อเลย เพราะทุกวิธีคิดมักจะมีการไปเปรียบกับตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นจริง เช่น การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ทำให้บางทีเราอ่านเเล้วก็เหมือนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไปด้วยเลยค่ะ

    พออ่านจบหนังสือเล่มนี้ทำให้เรารู้สึกว่าลองการเเหกกฎดูบ้างก็ไม่ใช่เรื่องที่เสียหายอะไร ถ้าเรื่องที่เราทำนั้นยังอยู่ในขอบเขตที่เราสามารถควบคุมได้เเละไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น เพราะการคิดเเบบนี้อาจจะช่วยให้เราสามารถเเก้ปัญหายากๆอย่างที่ไม่เคยมีใครเเก้ได้มาก่อนเลยก็ได้นะคะ

    ถ้าไอน์สไตน์เป็นฉัน จะแก้ปัญหานี้อย่างไร ไอน์สไตล์
    ถ้าไอน์สไตน์เป็นฉัน จะแก้ปัญหานี้อย่างไร

    Score Explanation
    Writing Style: 8/10
    เพราะมีการอธิบายพร้อมภาพหรือตารางประกอบทำให้เห็นภาพตามได้ดีมากขึ้น เเละสามารถคิดตามไปพร้อมๆกับผู้เขียนได้ในเวลาเดียวกัน
    Time worthiness: 7/10
    เพราะโดยภาพรวมนำเสนอได้พอดีเหมาะกับเรื่องที่ต้องการจะสื่อ
    Content Usefulness: 8/10
    เป็นวิธีการเเก้ปัญหาที่เเปลกใหม่ เหมาะสำหรับผู้ที่เจอปัญหายากๆเเล้ววิธีคิดเเบบเดิมๆไม่สามารถหาทางออกได้

    และทั้งหมดคือรีวิว “ถ้าไอน์สไตน์เป็นฉัน จะแก้ปัญหานี้อย่างไร” หนังสือที่เจาะลึกถึงหลักและวิธีในการคิดวิเคราะห์ของไอน์สไตน์ เชื่อว่าหลายๆ ท่านอ่านจบแล้วคงมองเห็นถึงวิธีคิดของสุดยอดนักวิทยาศาสตร์คนนี้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ใครที่ชื่นชอบและอยากตามอ่านแบบเต็มๆ ก็อย่าลืมไปติดตามซื้อมาอ่านต่อให้จบทั้งเล่มรับรองว่าได้อะไรดีๆ จากหนังสือเล่มนี้มากมายแน่นอน และขอขอบคุณเพจ รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก ที่นำหนังสือเล่มนี้มาบอกต่อถึงความน่าสนใจกันค่ะ

    รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก
    รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก
    รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก คนชอบอ่านหนังสือที่เริ่มต้นมาจากอยากทำสรุปให้ตัวเองอ่าน เพราะอ่านแล้วลืมว่าหนังสือเล่มนี้ดียังไง จนมาถึงเพจที่มีผู้ติดตามหลายหมื่น มาร่วมสังคมรักการอ่านด้วยกันนะคะ :)

    บทความล่าสุด

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้พัฒนาศาสตร์แห่งการสื่อสารและสร้างสัมพันธ์

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้มีผลงานมุ่งเน้นในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และบุคลิกภาพที่ดีให้แก่ผู้คนที่พบปัญหาด้านนี้ พร้อมทั้งได้สร้างงานเขียนและสถาบันที่ส่งเสริมให้คนมีความมั่นใจในตนเองได้มากขึ้น

    รีวิว เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก

    รีวิว "เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก" จากนักวาดภาพประกอบแพซ็องแท ที่มีผู้ติดตามกว่า 100000 คนจะมาบอกเล่าเรื่องราวความรักและชีวิตคู่ของเขาและภรรยาพร้อมกับแมวอีกสองตัว ให้คุณได้สมัผัสความอบอุ่นของความรักที่งดงาม

    อ่านตาม เยริ (Yeri) น้องสาวคนเล็กจาก red velvet

    อ่านตาม เยริ (Yeri) น้องเล็กของ red velvet ที่มากด้วยความสามารถและเสน่ห์ที่ใครๆ ต่างก็หลงใหลพร้อมๆ กับชั้นหนังสือที่เธอได้อ่านที่มีความน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้กัน จะมีเล่มไหนบ้างติดตามได้ในบทความนี้

    Battle of Stalingrad หนึ่งในสมรภูมิชี้ชะตาในสงครามโลกครั้งที่ 2

    ยุทธการที่สตาลินกราด (Battle of Stalingrad) หนึ่งในสมรภูมิที่ยากลำบากที่สุดในการต่อสู่ระหว่างมนุษย์ หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญอันนำมาสู่การตัดสินชี้ขาดของสงครามโลกครั้งที่และการสูญเสียเหลือคณานับ
    - Advertisement -spot_imgspot_img

    รู้จัก “โรคไต” กับ 150 ข้อควรรู้เกี่ยวกับภัยร้ายที่ถูกมองข้าม

    โรคไต หนึ่งในโรคร้ายที่มีผู้ป่วยมากมายพบปัญหากับโรคนี้ในปัจจุบัน ทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบาก มาทำความรู้จักโรคไตกันลึกซึ้ง พร้อมหนังสือแนะนำสำหรับดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคไตและหลีกเลี่ยงโรคนี้

    อ็องเดร ฌีด (André Gide) นักเขียนรางวัลโนเบลผู้ให้ความสนใจปัญหาสังคมและวัฒนธรรมฝรั่งเศส

    อ็องเดร ฌีด (André Gide) เนักเขียนชาวฝรั่งเศสผู้ชื่นชอบการสำรวจ แสวงหาความหมายและคุณค่าของชีวิต ตลอดจนกระทั่งปัญหาสังคมในชีวิตประจำวันของฝรั่งเศส ทั้งยังนำเอาเรื่องราวเหล่านั้นสร้างสรรค์ผลงานจนได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา

    บทความแนะนำ

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้พัฒนาศาสตร์แห่งการสื่อสารและสร้างสัมพันธ์

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้มีผลงานมุ่งเน้นในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และบุคลิกภาพที่ดีให้แก่ผู้คนที่พบปัญหาด้านนี้ พร้อมทั้งได้สร้างงานเขียนและสถาบันที่ส่งเสริมให้คนมีความมั่นใจในตนเองได้มากขึ้น

    รีวิว เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก

    รีวิว "เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก" จากนักวาดภาพประกอบแพซ็องแท ที่มีผู้ติดตามกว่า 100000 คนจะมาบอกเล่าเรื่องราวความรักและชีวิตคู่ของเขาและภรรยาพร้อมกับแมวอีกสองตัว ให้คุณได้สมัผัสความอบอุ่นของความรักที่งดงาม
    - Advertisement -spot_img

    เราคิดว่าคุณน่าจะชอบRELATED