More
    หน้าแรกหนังสือพัฒนาตนเองรีวิว The bullet journal method ฝึกจดบันทึกด้วยเทคนิคบูโจ

    รีวิว The bullet journal method ฝึกจดบันทึกด้วยเทคนิคบูโจ

    bullet journal หรือ BUJO หนึ่งในวิธีการเขียนบันทึกที่ได้รับความนิยมเป็นวงกว้างในปัจจุบัน ด้วยมีระบบในการเขียนที่ง่ายแต่ยืดหยุ่นสามารถปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคลได้ มาทำความรู้จักกับ bullet journal หรือ BUJO ให้มากขึ้น รวมทั้งวิธีการและหลักการสำคัญในการเริ่มเขียน BUJO

    -

    bullet journal หรือ BUJO หลายๆ คนคงเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างอาจมีทั้งคนที่รู้และไม่รู้ว่าสิ่งคืออะไร สิ่งที่เรียกว่า bullet journal หรือ BUJO เป็นหนึ่งในวิธีการจดบันทึกประจำวันที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยรูปแบบการเขียนที่ยืดหยุนไม่ได้มีการจำกัดที่แน่นอนขึ้นกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนจึงทำให้ได้รับความนิยมเป็นวงกว้าง หนังสือที่เราจะนำมาแนะนำกันในวันนี้นั้นจะนำพานักอ่านไปรู้จักกับการเขียน BUJO อย่างละเอียดมากขึ้นว่ามีวิธีหรือหลักการสำคัญใดบ้างในการเริ่มต้นนำไปปฏิบัติ แนะนำหนังสือโดยเพจ รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก ที่ได้อ่านและนำไปใช้กับตัวเองแล้วจะมาบอกเล่าถึงความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้กันใน รีวิว The bullet journal method วิถีบันทึกแบบบูโจ

    รีวิว The bullet journal method วิถีบันทึกแบบบูโจ

    The bullet journal method วิถีบันทึกแบบบูโจ
    The bullet journal method วิถีบันทึกแบบบูโจ

    อย่างที่ทุกคนทราบดีว่าถ้าเราอ่านหนังสือไปเยอะๆ เราจะประทับใจหนังสือยากขึ้น ตัวเราเองก็มีปัญหานี้เหมือนกันค่ะ แต่พอเราอ่านหนังสือเล่มนี้ โดยส่วนตัวเราว่าเป็นหนังสือที่ดีที่สุดตั้งแต่อ่านมาในปี 2021 นี้เลย ตอนแรกยอมรับว่ายังไม่สนใจเท่าไหร่ เพราะด้วยความที่เรารู้จัก bullet journal หรือ BUJO (การจดบันทึกแบบ Bullet ประจำวันว่าแต่ละวันต้องทำอะไรบ้าง) มานานแล้ว เราเองเคยทดลองทำแบบงูๆ ปลาๆ มาหลายปี ก็เลยไม่คิดว่าเล่มนี้จะอธิบายการทำ BUJO ที่แตกต่างไปจากที่เคยทำเท่าไหร่นัก

    แต่เราคิดผิดค่ะ เสน่ห์ที่เราชอบมากของหนังสือเล่มนี้คือ “ความยืดหยุ่นที่เป็นระบบ” (อันนี้เป็นคำของเราเองนะคะ ในหนังสือไม่ได้ใช้คำนี้นะ) จากที่เคยอ่านหนังสือประเภท How to จัดการชีวิตมาหลายเล่มมาก พบว่า BUJO มีลักษณะเด่นอยู่ 2 ข้อ ที่แตกต่างจากเล่มอื่นๆ ค่ะ

    (1) Flexibility
    วิธี How to หลายๆ วิธีเป็นกฎเกณฑ์ชัดเจน บางเล่มหรือบางวิธีนั้นแทบจะมีขั้นตอน 1 2 3 4 ชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เช่น ลงปฎิทินลอคเวลาทุก 30 นาทีหรือต้องเขียนไดอารี่อย่างน้อย 1 หน้าทุกวัน ซึ่งโดยส่วนตัวพบว่าได้ผลดีในช่วงแรก แต่สุดท้ายจะทำไม่ไหว

    ในขณะที่ BUJO คือการเขียนที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก การจดใช้เทคนิตการจดเร็ว ไม่ต้องสวย มีสัญลักษณ์ที่แยกระหว่างงานและ Note ธรรมดาออกจากกันและสามารถคิด Collection ใหม่ๆ มาเพิ่มได้ตามใจ โดยส่วนตัวแล้วชอบความยืดหยุ่นที่สามารถปรับได้ตาม Lifestyle ของคนๆนั้นจริงๆ

    (2) System
    ในขณะที่ BUJO มีความยืดหยุ่น แต่การจดบันทึกนั้นเป็นระบบมากค่ะ ยกตัวอย่างเช่นการกำกับเลขหน้าทุกหน้าและการทำดัชนีหรือสารบัญว่าอะไรอยู่ที่หน้าไหน รวมไปถึงหลักการว่างานไหนสำคัญไม่สำคัญและขีดทิ้ง ระบบในการทำ BUJO นั้นเข้าใจง่ายมากค่ะ อาจจะมีรายละเอียดเยอะหน่อย แต่ว่าพอลองทำตามแล้วจำง่ายมากเลยค่ะ

    BUJO จะมีส่วนประกอบใหญ่ๆ ทั้งหมด 4 ส่วนด้วยกัน

    (ถ้าใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้วอยากลองทำ BUJO ของตัวเอง ข้ามพาร์ทนี้และไปอ่านในหนังสือเลยจะละเอียดและเข้าใจกว่านะคะ อันนี้สรุปให้ฟังสั้นๆ ยังไม่มีวิธีการทำนะคะ)

    1 ‘บันทึกประจำวัน’
    ที่เราจะใช้เทคนิคบันทึกเร็วในการบันทึกเรื่องราวต่างๆ ตอนหมดวัน ทั้งงานที่ต้องทำ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมไปถึงความรู้สึกหรือไดอารี่สั้นๆ ในแต่ละวัน โดยที่จะมีสัญลักษณ์ต่างๆ คอยช่วยให้เราแยกเป็นหัวข้อได้ง่าย จากที่ลองทำมานั้น บันทึกประจำวันมีประโยชน์มากกว่าแค่จะเตือนว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่เหมือนเป็นการขีดแบ่งระหว่างวันนี้ที่จบไปแล้วและวันถัดไปและยังทำให้เราได้ Reflect อีกด้วยว่าวันนี้เราเจอเรื่องอะไรและมีความรู้สึกหรือเรื่องที่ได้เรียนรู้อะไรบ้าง

    2 ‘บันทึกประจำเดือน’
    คือการวางแผนของเดือนนี้ โดยที่ให้เราเห็นภาพรวมว่าต้องทำอะไรบ้างในเดือนนี้เช่นการนัดต่างๆ โดยที่ไฮไลท์ที่เราชอบคือการที่พอถึงต้นเดือน เราจะมาเขียนของเดือนที่กำลังจะมาถึง ด้วยการยกงานของเดือนก่อนมาไว้เดือนนี้ มันทำให้เราเห็นว่างานไหนของเดือนที่แล้วที่ยังไม่เสร็จและควรทำต่อหรือยังไม่เสร็จแต่ไม่ต้องทำแล้วเพราะไม่สำคัญแล้วเป็นการตัดไขมันส่วนเกินออกจากชีวิตเรา

    3 ‘บันทึกอนาคต’
    บันทึกนี้เอาไว้จดเรื่องราวที่จะทำในอนาคต โดยที่ยังไม่ได้มีแผนการชัดเจนว่าจะทำเมื่อไหร่ พอถึงเวลาที่จะเขียนบันทึกประจำเดือน เราก็จะยกบันทึกอนาคตที่อยากจะทำมาใส่ในเดือนนั้นๆ

    4 ‘Collection’
    ส่วนนี้เราชอบเป็นพิเศษเลยเพราะว่ามันยืดหยุ่นตามความต้องการเรามาก Collection เหมือนเป็นการเปิดโปรเจค เช่น การวางแผนทริปเที่ยวหรือการออก Product ตัวใหม่ว่ามีอะไรต้องทำบ้าง ซึ่งจะขอแอบบอกว่าเพจรีวิวทุกอย่างที่อ่านออกนี้ก็ได้ประโยชน์มากเลยจากการทำ Collection ใน BUJO ด้วยค่ะ

    จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ที่เราชอบมาก คือ ตลอดทั้งเล่มนี้มีการให้หลักการและเหตุผลของระบบต่างๆ อยู่เสมอ ไม่ได้เพียงแค่เขียน How to และให้วิธีที่ชัดเจนเท่านั้นแต่ยังอธิบายด้วยว่าที่มาของระบบนั้นๆ มาจากอะไร เช่น ในทุกต้นเดือน เราจะมาวางแผนของงานเดือนนั้นด้วยการเปิดดูงานของเดือนที่แล้วว่ายังเหลืออะไรอยู่บ้างจากเดือนก่อนและ “ลอก” ลงมาที่บันทึกประจำเดือนของเดือนถัดไป เหตุผลที่ต้องทำอย่างนั้นไม่ใช่เพื่อย้ำว่าเราทำอะไรไม่สำเร็จ แต่คือการ “เลือก” งานที่มีประโยชน์พอที่จะลอกมาในเดือนถัดไป ถ้างานนั้นไม่ควรค่าพอให้เราลอกก็แปลว่าอาจจะเป็นงานที่ไม่คุ้มค่าจะทำเช่นกัน

    หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ไม่ได้เพียงสอนวิธีจดโน้ตที่ทำให้ชีวิตเป็นระบบเท่านั้นแต่ยังให้แรงบันดาลใจอีกด้วย ก่อนที่จะเข้าทุกบทจะมีคำพูดดีๆ ในหัวข้อของบทนั้นๆ โดยส่วนตัวมีประโยคนี้ที่ชอบค่ะ

    “นักออกแบบรู้ว่างานของตนสมบูรณ์แบบแล้ว ไม่ใช่เมื่อเพิ่มอะไรเข้าไปไม่ได้อีก แต่เมื่อขจัดอะไรทิ้งไม่ได้อีก” – อองตวน เดอ แซงแตกซูเปรี (หน้า 321)

    Bullet Journal นั้นเป็นระบบที่แต่ละคนที่ใช้จะสามารถสร้างสรรค์กับมันได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นแล้วจึงเป็นวิธีที่ยังมีการพัฒนาอยู่เสมอ นักเขียนเล่มนี้ยังมี Website ให้เราสามารถซื้อสมุดและเข้าไป Join Community BUJO ได้ แถมยังมี Application ชื่อ Bullet Journal Companion ที่ให้เราไปโหลดได้อีกด้วย

    เราแนะนำหนังสือเล่มนี้ให้ทุกคนมากๆ โดยเฉพาะคนยุ่งที่ชีวิตวุ่นวาย ทำหลายอย่าง ทั้งเรื่องงานและส่วนตัว หนังสือเล่มนี้ให้ทั้งแรงบันดาลใจ ไอเดียและวิธีทำ ถือว่าเป็น All-in-one ของหนังสือ How to เลยค่ะ

    ปล. ส่วนตัวเราชอบกระดาษกับการออกแบบหนังสือของเล่มนี้ด้วย หนังสือสวยน่ารักดีมากเลย ซื้อไว้ประดับชั้นหนังสือก็ฟินแล้วค่ะ

    The bullet journal method วิถีบันทึกแบบบูโจ
    รีวิว The bullet journal method วิถีบันทึกแบบบูโจ

    Score Explanation
    Writing Style: 4/5
    เพราะว่าเขียนสนุกดี มีวิธีการเปิดเรื่องที่น่าสนใจและจบประเด็นตัวเองได้แบบมีลีลา
    Time worthiness: 4.5/5
    หนังสือไม่ยาวเลยถ้าเทียบกับเนื้อหาที่ได้รับ แต่ละบทก็สั้นๆ สามารถทยอยอ่านได้ เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลา
    Content Usefulness: 5/5
    มีประโยชน์มากจริงๆ ค่ะ และเชื่อว่าจะมีประโยชน์ได้กับทุกคนที่อยากจัดการชีวิตตัวเองใหเป็นระเบียบขึ้น แต่สำหรับคนที่ใช้ BUJO อยู่แล้วก็อาจจะไม่จำเป็นต้องอ่านเล่มนี้ค่ะ

    และทั้งหมดคือรีวิว The bullet journal method วิถีบันทึกแบบบูโจ หนังสือที่แนะนำถึงหลักการและวิธีการเขียน BUJO ออกได้ให้เข้าใจทั้งยังนำไปทำตามได้ง่ายๆ หลายๆ คนอ่านจบแล้วคงอยากหยิบสมุดขึ้นมาสักเล่มเพื่อทำ BUJO ตามได้ลองเปลี่ยนจากนักอ่านเป็นนักเขียนกันอย่างแน่นอน สำหรับใครที่ชอบอยากติดตามเนื้อหาโดยละเอียดก็อย่าลืมไปซื้อมาอ่านให้จบกันนะคะ เพราะเนื้อหารีวิวนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นถ้าได้อ่านเนื้อหาเต็มๆ จะเข้าใจถึงวิธีรวมทั้งข้อดีของ BUJO มากขึ้นไปอีก สุดท้ายนี้ขอบคุณเพจ รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก ที่ได้นำหนังสือดีๆ น่าสนใจมาแนะนำกันอีกเช่นเคยนะคะ

    สั่งซื้อ The bullet journal method วิถีบันทึกแบบบูโจ

    รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก
    รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก
    รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก คนชอบอ่านหนังสือที่เริ่มต้นมาจากอยากทำสรุปให้ตัวเองอ่าน เพราะอ่านแล้วลืมว่าหนังสือเล่มนี้ดียังไง จนมาถึงเพจที่มีผู้ติดตามหลายหมื่น มาร่วมสังคมรักการอ่านด้วยกันนะคะ :)

    บทความล่าสุด

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้พัฒนาศาสตร์แห่งการสื่อสารและสร้างสัมพันธ์

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้มีผลงานมุ่งเน้นในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และบุคลิกภาพที่ดีให้แก่ผู้คนที่พบปัญหาด้านนี้ พร้อมทั้งได้สร้างงานเขียนและสถาบันที่ส่งเสริมให้คนมีความมั่นใจในตนเองได้มากขึ้น

    รีวิว เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก

    รีวิว "เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก" จากนักวาดภาพประกอบแพซ็องแท ที่มีผู้ติดตามกว่า 100000 คนจะมาบอกเล่าเรื่องราวความรักและชีวิตคู่ของเขาและภรรยาพร้อมกับแมวอีกสองตัว ให้คุณได้สมัผัสความอบอุ่นของความรักที่งดงาม

    อ่านตาม เยริ (Yeri) น้องสาวคนเล็กจาก red velvet

    อ่านตาม เยริ (Yeri) น้องเล็กของ red velvet ที่มากด้วยความสามารถและเสน่ห์ที่ใครๆ ต่างก็หลงใหลพร้อมๆ กับชั้นหนังสือที่เธอได้อ่านที่มีความน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้กัน จะมีเล่มไหนบ้างติดตามได้ในบทความนี้

    Battle of Stalingrad หนึ่งในสมรภูมิชี้ชะตาในสงครามโลกครั้งที่ 2

    ยุทธการที่สตาลินกราด (Battle of Stalingrad) หนึ่งในสมรภูมิที่ยากลำบากที่สุดในการต่อสู่ระหว่างมนุษย์ หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญอันนำมาสู่การตัดสินชี้ขาดของสงครามโลกครั้งที่และการสูญเสียเหลือคณานับ
    - Advertisement -spot_imgspot_img

    รู้จัก “โรคไต” กับ 150 ข้อควรรู้เกี่ยวกับภัยร้ายที่ถูกมองข้าม

    โรคไต หนึ่งในโรคร้ายที่มีผู้ป่วยมากมายพบปัญหากับโรคนี้ในปัจจุบัน ทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบาก มาทำความรู้จักโรคไตกันลึกซึ้ง พร้อมหนังสือแนะนำสำหรับดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคไตและหลีกเลี่ยงโรคนี้

    อ็องเดร ฌีด (André Gide) นักเขียนรางวัลโนเบลผู้ให้ความสนใจปัญหาสังคมและวัฒนธรรมฝรั่งเศส

    อ็องเดร ฌีด (André Gide) เนักเขียนชาวฝรั่งเศสผู้ชื่นชอบการสำรวจ แสวงหาความหมายและคุณค่าของชีวิต ตลอดจนกระทั่งปัญหาสังคมในชีวิตประจำวันของฝรั่งเศส ทั้งยังนำเอาเรื่องราวเหล่านั้นสร้างสรรค์ผลงานจนได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา

    บทความแนะนำ

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้พัฒนาศาสตร์แห่งการสื่อสารและสร้างสัมพันธ์

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้มีผลงานมุ่งเน้นในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และบุคลิกภาพที่ดีให้แก่ผู้คนที่พบปัญหาด้านนี้ พร้อมทั้งได้สร้างงานเขียนและสถาบันที่ส่งเสริมให้คนมีความมั่นใจในตนเองได้มากขึ้น

    รีวิว เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก

    รีวิว "เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก" จากนักวาดภาพประกอบแพซ็องแท ที่มีผู้ติดตามกว่า 100000 คนจะมาบอกเล่าเรื่องราวความรักและชีวิตคู่ของเขาและภรรยาพร้อมกับแมวอีกสองตัว ให้คุณได้สมัผัสความอบอุ่นของความรักที่งดงาม
    - Advertisement -spot_img

    เราคิดว่าคุณน่าจะชอบRELATED