More
    หน้าแรกหนังสือพัฒนาตนเองรีวิว หัวใจเซนเซ สร้างคนแบบญี่ปุ่น เคล็ดลับในการสร้างคนสไตล์ญี่ปุ่น

    รีวิว หัวใจเซนเซ สร้างคนแบบญี่ปุ่น เคล็ดลับในการสร้างคนสไตล์ญี่ปุ่น

    พาคุณทำความรู้จักการการสร้างคนให้มีคุณภาพตามแบบฉบับคนญี่ปุ่น วิธีการขัดเกลา สั่งสอนหรือเรียนรู้แบบไหนที่ทำให้คนในประเทศมีมีศํกยภาพที่ยอดเยี่ยมจนนำพาประเทศไปสู่มหาอำนาจโลก มาเรียนรู้เคล็ดลับต่างๆ ผ่านผู้ที่มีประสบการณ์ในการเรียนและทำงานกับคนญี่ปุ่นในหนังสือ "หัวใจเซนเซ สร้างคนแบบญี่ปุ่น " เล่มนี้กัน

    -

    เชือว่าหากพูดถึงประทศที่มีระเบียบวินัย ใช้ชีวิตอย่างมีแบบแผน ประชาชนมีความรับผิดชอบสูงตรงต่อเวลา หลายๆ คนคงนึกถึงประเทศญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ เพราะด้วยวิธีการขัดเกลาและปลูกฝั่งเรื่องระเบียบวินัยมาตั้งแต่เด็กๆ ประเทศญี่ปุ่นจึงมีวัฒนธรรมองค์กรตลอดจนแบบแผนปฏิบัติที่มีเอกลักษณ์และนั้นเป็นหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ประชากรภายในประเทศมีศักยภาพสูงพร้อมนำพาประเทศให้พัฒนาอย่างยังยืน วันนี้เราได้หยิบยกหนังสือที่น่าสนใจเล่มหนึ่งมารีวิวกัน หนังสือที่กล่าวถึงวิธีการสอนและปลูกฝังถึงกระบวนการคิดในแบบชาวญี่ปุ่นที่เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างประชากรคุณภาพเหล่านี้ขึ้นมา รีวิวโดยเพจ รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก ที่จะมานำเสนอความน่าสนใจภายในหนังสือเล่มนี้กับ รีวิว หัวใจเซนเซ สร้างคนแบบญี่ปุ่น

    รีวิว “หัวใจเซนเซ สร้างคนแบบญี่ปุ่น” วิธีสร้างคนให้มีศักยภาพสไตล์ชาวญี่ปุ่น

    รีวิว หัวใจเซนเซ สร้างคนแบบญี่ปุ่น
    หัวใจเซนเซ สร้างคนแบบญี่ปุ่น

    เหตุใดคนญี่ปุ่นถึงมีวินัยสูง?
    เหตุใดคนญี่ปุ่นถึงอดทน?
    เหตุใดคนญี่ปุ่นถึงทุ่มเททำเพื่อผู้อื่น?

    หนึ่งในความฝันของใครหลายคนในตอนนี้คือการได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ เพราะไม่เพียงแต่จะได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม แต่ยังเป็นการได้เรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆ ญี่ปุ่นก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่คนจากทั่วโลกอยากไปศึกษาต่อ เราเองก็เป็นหนึ่งในนั้นค่ะเพราะโดยส่วนตัวชอบในความมีระเบียบวินัยของคนญี่ปุ่นเเละที่นั่นยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เราอยากไปด้วยค่ะ หนังสือเล่มนี้เลยเป็นหนังสือที่เราเห็นเเล้วไม่ลังเลที่จะหยิบขึ้นมาอ่านในทันที โดยในหนังสือเล่มนี้จะพาเรามาหาคำตอบว่า คนญี่ปุ่น ‘สร้าง’ คนญี่ปุ่นขึ้นมาได้อย่างไร วันนี้รีวิวทุกอย่างที่อ่านออกจะพาคุณมารู้จักกับ หัวใจเซนเซ สร้างคนแบบญี่ปุ่น ค่ะ

    หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวของนักเรียนไทยที่ได้ทุนไปเรียนต่อระดับปริญญาที่ญี่ปุ่น ซึ่งจุดมุ่งหมายหลักของผู้เขียนตั้งเเต่ก่อนจะไปเรียนต่อคืออยากไปเรียนรู้เเนวคิดการสร้างคนของประเทศญี่ปุ่นเเล้วนำกลับมาพัฒนาประเทศของเรา โดยสิ่งที่นำมาเล่าจะเป็นประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนกับอาจารย์ชาวญี่ปุ่นสองท่านที่ได้เปลี่ยนชีวิตของผู้เขียนเเละทำให้ผู้เขียนเข้าใจคนญี่ปุ่นได้ดีมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถอ้างได้ว่าวิธีการสอนของอาจารย์ทั้งสองท่านนี้จะเป็นเเนวการสอนของอาจารย์ทุกคนในญี่ปุ่น เพราะแต่ละคนก็มีวิธีการสอนในแบบของตัวเอง แต่แนวการสอนของอาจารย์ทั้งสองท่านนี้ก็ถือได้ว่าเป็นแนวการสอนที่ดีที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตัวเราได้

    อาจารย์ท่านเเรกคือ มิชินะเซนเซ อาจารย์สอนวิชากลยุทธ์ธุรกิจ ซึ่งเเนวการสอนของท่านจะเป็นการสอนด้วยคำถาม หลายคนคงคุ้นเคยกับการเรียนเเบบจดเลคเชอร์ตามอาจารย์ผู้สอนเเล้วตอนจบคลาสเรียนอาจมีการทดสอบผู้เรียนด้วยการบ้านหรือควิซสั้นๆ เราไม่ได้จะบอกว่าการสอนแบบนี้ไม่ดี เเต่เราอยากจะพาทุกคนไปเรียนรู้วิธีการสอนอีกแบบที่เราคิดว่าน่าสนใจมาก คือ การสอนด้วยคำถาม การสอนรูปแบบนี้อาจารย์จะตั้งคำถามชวนให้เราคิด

    เช่น ‘เราไปเจอร้านขนมหนึ่งร้านที่ดูภายนอกเเล้วไม่เเตกต่างจากร้านขนมทั่วไปเลย เเต่ทำไมร้านขนมร้านนี้ถึงขายดีกว่าร้านอื่น?’ โดยอาจารย์จะไม่บอกคำตอบเเก่นักศึกษา ทำให้พวกเขาถูกกระตุ้นให้คิดเเละสามารถค้นพบคำตอบได้ด้วยตัวเองในที่สุด อีกทั้งเรายังสามารถปรับเเนวการสอนเเบบนี้ไปใช้เมื่อเราเป็นพ่อแม่ในอนาคตได้ เช่น เเทนที่เราจะบอกลูกว่าให้ตั้งใจอ่านหนังสือ ลองเปลี่ยนมาถามลูกของเราเเทนว่า หนังสือที่อ่านวันนี้มีเรื่องอะไรน่าสนุกบ้าง คุณพอจะเห็นความเเตกต่างของสองประโยคนี้ไหมคะ เห็นได้ชัดว่าประโยคที่สองนั้นตอบได้ยากกว่าเเละถ้าจะตอบได้เด็กต้องอ่านหนังสือเล่มนั้นจบก่อนเเล้วมาคิดต่อว่าเรื่องไหนสนุกที่สุด

    อาจารย์อีกท่านคือ โอกาวะเซนเซ อาจารย์ที่ผู้เขียนอธิบายไว้ว่าท่านเป็นผู้ที่สอนเรื่อง ทัศนคติ การวางตัวเเละมารยาททางสังคม ในรูปเเบบของคนญี่ปุ่นให้แก่ผู้เขียน การอ่านเรื่องราวระหว่างผู้เขียนกับอาจารย์ท่านนี้เลยทำให้เราได้เรียนรู้มารยาททางสังคมในการทำงานของคนญี่ปุ่นหลายอย่างที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เช่น ถ้าใครไม่เคยทำงานกับคนญี่ปุ่นอาจจะไม่คุ้นชินกับการถูกเจ้านายตักเตือนโดยไม่อ้อมค้อมหรือรักษาน้ำใจ ที่เป็นเเบบนี้เพราะคนญี่ปุ่นมักให้ความสำคัญกับงานมาเป็นอันดับหนึ่ง การเตือนจึงแปลว่ารักเเละหวังดีอยากให้ลูกน้องคนนั้นเติบโต เเต่ในทางกลับกันถ้าเจ้านายญี่ปุ่นไม่ตักเตือนเราเเล้ว เเปลว่าเค้าหมดหวังกับพนักงานคนนั้นหรือคิดว่าไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของพนักงานคนนี้ต่อไปได้อีก

    อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนญี่ปุ่นมักประสบความสำเร็จในการทำงาน เกิดจากคนญี่ปุ่นถูกฝึกให้รู้จักคิดเเละวางเเผนมาตั้งเเต่เด็ก เด็กญี่ปุ่นในทุกปิดเทอมจะต้องทำการบ้านวิชาวิจัยอิสระ ที่คุณครูให้อิสระเเก่เด็กนักเรียนในการเลือกหัวข้อ จากนั้นไปเก็บข้อมูลเเล้วรวบรวมมาเขียนลงในโปสเตอร์เพื่อนำเสนอในตอนเปิดเทอม ซึ่งในญี่ปุ่นเเหล่งข้อมูลนั้นเข้าถึงได้ง่ายมาก ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นที่อยากจะหาความรู้เพิ่มเติม อีกทั้งการที่ไม่จำกัดหัวข้อยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ไปค้นหาตนเองว่าชอบสิ่งใดจริงๆ โดยนักเรียนญี่ปุ่นจะต้องทำสิ่งนี้ตั้งเเต่ ป.1 ถึง ม.6 รวมทั้งสิ้น 12 ปีทำให้ไม่เเปลกใจเลยว่าทำไมคนญี่ปุ่นถึงโตมาเเล้วมีนิสัยชอบหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีสิ่งอื่นๆ ที่คนญี่ปุ่นทำมาตั้งเเต่เด็กเเล้วติดตัวมาเป็นนิสัยที่ดีในอนาคต เช่น การฝึกวางเเผน การเขียนเรียงความเเละการเเบ่งหน้าที่ในการทำงาน เป็นต้น

    โดยส่วนตัวชอบแนวการเขียนของหนังสือเล่มนี้ที่มีการเริ่มต้นมาด้วยการตั้งคำถามก่อนแล้วค่อยอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ตามมา ทำให้เราได้คิดตามไปด้วย และการดำเนินเรื่องหลักของหนังสือเล่มนี้เป็นการเล่าชีวิตการเรียนที่ญี่ปุ่นและค่อยๆ แทรกแนวการสร้างคนของชาวญี่ปุ่นมาเป็นระยะๆ ทำให้เราไม่รู้สึกเบื่อและยังอยากอ่านต่อไปเรื่อยๆ จนจบเล่ม หนังสือเล่มนี้เหมาะกับผู้ที่กำลังจะไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น รวมถึงคนที่จะต้องทำงานร่วมกับชาวญี่ปุ่น เพราะในหนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีเเค่การสอนเเนวคิดการสร้างคนเท่านั้น เเต่เราจะได้เรียนรู้มารยาทที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกับคนญี่ปุ่นอีกด้วย สุดท้ายคนที่เราอยากเเนะนำให้อ่านหนังสือเล่มนี้คือ อาจารย์ที่ต้องสอนลูกศิษย์เเละพ่อเเม่ที่กำลังเลี้ยงลูก เพราะในหนังสือเล่มนี้มีเเนวคิดดีๆ มากมายในการสอนคน ที่ถ้าคุณนำไปประยุกต์ใช้จะเป็นประโยชน์เเก่คนที่คุณกำลังสอนได้อย่างเเน่นอนค่ะ

    รีวิว หัวใจเซนเซ สร้างคนแบบญี่ปุ่น
    รีวิว หัวใจเซนเซ สร้างคนแบบญี่ปุ่น

    Score Explanation
    Writing Style: 4.5/5
    เพราะ ชอบแนวการเขียนแบบที่เริ่มต้นมาด้วยการตั้งคำถามก่อนแล้วค่อยอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆตามมา ทำให้เป็นการอ่านที่สนุก รู้ตัวอีกทีก็อ่านจนจบเล่มแล้ว
    Time worthiness: 4/5
    เนื้อหาในหนังสือไม่มากไม่น้อยเกินไป และสื่อใจความออกมาได้กระชับ
    Content Usefulness: 4/5
    มีประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายคือคนที่กำลังไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นและต้องทำงานกับคนญี่ปุ่น ส่วนคนทั่วไปสามารถเอาไว้อ่านเพลินๆและนำแนวคิดจากหนังสือเล่มนี้ เช่น การฝึกวางแผนชีวิตของตัวเอง มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้เช่นกันค่ะ

    และทั้งหมดคือรีวิวหนังสือ หัวใจเซนเซ สร้างคนแบบญี่ปุ่น หนังสืออีกเล่มที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะใครที่เป็นผู้ปกครองหรือครูอาจารย์ หนังสือเล่มนี้จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะพาไปรู้จักกับวิธีการสอนให้เด็กๆ เรียนรู้แบบใหม่ๆ แตกต่างไปจากการสอนในห้องเรียนแบบเดิมๆ แม้แต่คนทำงานก็ยังสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เหมาะสมได้เป็นอีกเล่มที่ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง สุดท้ายนี้ขอบคุณเพจ รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก ที่นำหนังสือดีๆ น่าสนใจมาแนะนำกันอีกเช่นเคยนะคะ ใครที่อยากรู้ถึงเนื้อหาโดยละเอียดก็อย่าลืมไปตามอ่านกันต่อให้จบ รับรองว่าได้อะไรดีๆ ไปอีกเยอะแน่นอน

    รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก
    รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก
    รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก คนชอบอ่านหนังสือที่เริ่มต้นมาจากอยากทำสรุปให้ตัวเองอ่าน เพราะอ่านแล้วลืมว่าหนังสือเล่มนี้ดียังไง จนมาถึงเพจที่มีผู้ติดตามหลายหมื่น มาร่วมสังคมรักการอ่านด้วยกันนะคะ :)

    บทความล่าสุด

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้พัฒนาศาสตร์แห่งการสื่อสารและสร้างสัมพันธ์

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้มีผลงานมุ่งเน้นในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และบุคลิกภาพที่ดีให้แก่ผู้คนที่พบปัญหาด้านนี้ พร้อมทั้งได้สร้างงานเขียนและสถาบันที่ส่งเสริมให้คนมีความมั่นใจในตนเองได้มากขึ้น

    รีวิว เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก

    รีวิว "เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก" จากนักวาดภาพประกอบแพซ็องแท ที่มีผู้ติดตามกว่า 100000 คนจะมาบอกเล่าเรื่องราวความรักและชีวิตคู่ของเขาและภรรยาพร้อมกับแมวอีกสองตัว ให้คุณได้สมัผัสความอบอุ่นของความรักที่งดงาม

    อ่านตาม เยริ (Yeri) น้องสาวคนเล็กจาก red velvet

    อ่านตาม เยริ (Yeri) น้องเล็กของ red velvet ที่มากด้วยความสามารถและเสน่ห์ที่ใครๆ ต่างก็หลงใหลพร้อมๆ กับชั้นหนังสือที่เธอได้อ่านที่มีความน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้กัน จะมีเล่มไหนบ้างติดตามได้ในบทความนี้

    Battle of Stalingrad หนึ่งในสมรภูมิชี้ชะตาในสงครามโลกครั้งที่ 2

    ยุทธการที่สตาลินกราด (Battle of Stalingrad) หนึ่งในสมรภูมิที่ยากลำบากที่สุดในการต่อสู่ระหว่างมนุษย์ หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญอันนำมาสู่การตัดสินชี้ขาดของสงครามโลกครั้งที่และการสูญเสียเหลือคณานับ
    - Advertisement -spot_imgspot_img

    รู้จัก “โรคไต” กับ 150 ข้อควรรู้เกี่ยวกับภัยร้ายที่ถูกมองข้าม

    โรคไต หนึ่งในโรคร้ายที่มีผู้ป่วยมากมายพบปัญหากับโรคนี้ในปัจจุบัน ทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบาก มาทำความรู้จักโรคไตกันลึกซึ้ง พร้อมหนังสือแนะนำสำหรับดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคไตและหลีกเลี่ยงโรคนี้

    อ็องเดร ฌีด (André Gide) นักเขียนรางวัลโนเบลผู้ให้ความสนใจปัญหาสังคมและวัฒนธรรมฝรั่งเศส

    อ็องเดร ฌีด (André Gide) เนักเขียนชาวฝรั่งเศสผู้ชื่นชอบการสำรวจ แสวงหาความหมายและคุณค่าของชีวิต ตลอดจนกระทั่งปัญหาสังคมในชีวิตประจำวันของฝรั่งเศส ทั้งยังนำเอาเรื่องราวเหล่านั้นสร้างสรรค์ผลงานจนได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา

    บทความแนะนำ

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้พัฒนาศาสตร์แห่งการสื่อสารและสร้างสัมพันธ์

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้มีผลงานมุ่งเน้นในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และบุคลิกภาพที่ดีให้แก่ผู้คนที่พบปัญหาด้านนี้ พร้อมทั้งได้สร้างงานเขียนและสถาบันที่ส่งเสริมให้คนมีความมั่นใจในตนเองได้มากขึ้น

    รีวิว เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก

    รีวิว "เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก" จากนักวาดภาพประกอบแพซ็องแท ที่มีผู้ติดตามกว่า 100000 คนจะมาบอกเล่าเรื่องราวความรักและชีวิตคู่ของเขาและภรรยาพร้อมกับแมวอีกสองตัว ให้คุณได้สมัผัสความอบอุ่นของความรักที่งดงาม
    - Advertisement -spot_img

    เราคิดว่าคุณน่าจะชอบRELATED