More
    หน้าแรกหนังสือพัฒนาตนเองรีวิว Talking to strangers เรียนรู้ทักษะศิลปะของการอ่านคน

    รีวิว Talking to strangers เรียนรู้ทักษะศิลปะของการอ่านคน

    เรียนรู้ที่จะเข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนนั้นไม่ได้เข้าใจง่ายอย่างที่เราคิดไปกับ Talking to strangers หนังสือที่จะพาคุณไปดื่มด่ำถึงจิตใจอันลึกสุดหยั่งของมนุษย์เพื่อให้คุณได้เข้าใจว่าธรรมชาติของ“มนุษย์เรา เข้าใจยากกว่าที่คิด”

    -

    เชื่อว่านักอ่านที่แวะเวียนเข้ามาหลายๆ ท่านคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “มนุษย์เรา เข้าใจยากกว่าที่คิด” เพราะในหลายๆ ครั้งที่เราเข้าใจว่ารู้จักคนๆ หนึ่งดีพอหรือแต่กลับพบว่าคนๆ นั้นกลับสร้างความประหลาดใจในทางเลือกของเขา หรือแม้กระทั่งเราอาจจะเคยสงสัยหรือพยายามเข้าใจถึงสาเหตุ ความรู้สึก ของคนๆ หนึ่งที่กระทำสิ่งหนึ่งลงไปแต่เราก็ไม่สามารถเข้าใจได้ จึงเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีว่าประโยคข้างต้นนั้นไม่ได้เกินจริงเลย และในวันนี้เราก็มีหนังสือที่อยากแนะนำหลายๆ ท่าน เพื่อที่จะอธิบายถึงความไม่แน่นอนของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องธรรมดากับหนังสือ Talking to strangers ของ Malcome Gladwell ที่จะพาคุณไปเรียนรู้ถึงจิตใจที่อยากจะหยั่งของทุกๆ คนว่าจริงๆ แล้วไม่ได้เข้าใจกันง่ายๆ อย่างที่คิดกับ รีวิว Talking to strangers ศิลปะแห่งการอ่านคน รีวิวโดยเพจ รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก ที่จะเล่าเนื้อหาคร่าวๆ ภายในหนังสือเล่มนี้กัน

    รีวิว Talking to strangers ศิลปะแห่งการอ่านคน’ ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

    ทำไมเราภรรยาถึงจับเวลาสามีนอกใจไม่ได้ ทั้งๆ ที่เพื่อนและคนอื่นๆ ก็บอกว่ามันชัดเจนออกจะตาย
    ทำไม CIA ยังพลาดในการสอบสวนผู้ต้องสงสัย
    ทำไมตำรวจถึงจับผิดคนแต่ไม่รู้ตัว
    ทำไม AI ถึงตัดสินว่าจะจำคุกผู้ต้องสงสัยได้ดีกว่าผู้พิพากษา
    ทำไมการล่วงละเมิดโดยไม่เจตนาถึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผู้กระทำนึกว่าอีกฝ่ายยินยอม

    เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของคำถามที่ได้รับการตอบให้กระจ่างใน Talking to strangers ศิลปะแห่งการอ่านคน’ หัวใจสำคัญที่ Malcome Gladwell อยากจะสื่อสารในหนังสือเล่มนี้มีเพียงประเด็นหลักประเด็นเดียวเท่านั้นคือ “มนุษย์เรา (โดยเฉพาะคนอื่นที่ไม่ใช่ตัวเรา) เข้าใจยากกว่าที่คิด” เป็นประเด็นง่ายๆ ที่เราส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ วันนี้รีวิวทุกอย่างที่อ่านออกจะมารีวิว Talking to strangers ศิลปะแห่งการอ่านคน’ ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

    ก่อนจะไปต่อมีเรื่องแรกที่อยากจะเตือนทุกๆ คนก่อนค่ะ ว่าหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาและการยกตัวอย่างที่ค่อนข้างรุนแรง เกี่ยวข้องกับการฆ่า การฆ่าตัวตาย การทรมาน การสอบสวน อาชญากรรมอยู่เกือบทั้งเล่ม ถ้าใครที่ไม่ถนัดในการอ่านเรื่องแบบนี้ เล่มนี้อาจจะไม่ได้เหมาะมากนะคะ อ่านรีวิวด้านล่างก็ได้ประเด็นสำคัญครบถ้วนค่ะ

    หลังจากที่อ่านเล่มนี้ เราค้นพบว่าสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ออกมาเป็น 3 ข้อใหญ่ค่ะมนุษย์เราคิดว่าตัวเองซับซ้อน แต่คิดว่าเข้าใจคนอื่นทะลุปรุโปร่ง มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ให้เราเติมคำในช่องว่าง เช่น S_RE / P_ _ N / STR _ _ _ มากกว่ายี่สิบคำ ซึ่งพอผู้เข้าร่วมการทดลองนั้นเขียนเสร็จแล้ว บางคนเติมคำในเชิง negative ทั้งหมด เช่น SORE (ความเจ็บปวด) PAIN (ความทุกข์) STRESS (ความเครียด) เมื่อผู้เข้าร่วมการทดลองถูกถามว่าคิดว่าคำที่เติมไปบ่งบอกลักษณะนิสัยได้ไหม ส่วนใหญ่ตอบว่า “ไม่ได้หรอก เค้าแค่เลือกคำสุ่มๆไปเท่านั้นเอง ฉันไม่ได้เครียดอะไรซักหน่อย” แต่พอผู้ทดลองให้กลุ่มตัวอย่างอ่านคำตอบเดียวกันจากคนอื่น กลุ่มตัวอย่างกลับตอบว่า “คนนี้น่าจะมืดหม่นแน่ๆเลย” “คนนี้ต้องมีความทุกข์มาก” ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมากเพราะมันคือคนเดียวกันกับการที่บอกว่าการเลือกคำเป็นแค่คำสุ่ม สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า คนเราเชื่อว่าการทดลองเดียวกันวัดตัวเองไม่ได้ แต่วัดผู้อื่นได้

    นอกเหนือจากเรื่องนี้แล้วยังมีตัวอย่างอีกมากมาย เช่น นายกรัฐมนตรีอังกฤษที่เคยพบกับฮิตเลอร์บอกว่าฮิตเลอร์ไม่สนใจทำสงครามเลยและ เป็นคนจริงใจถึงขั้นกล้าประกาศออกสื่ออังกฤษเลยทีเดียว เพราะนายกรัฐมนตรีคนนั้นเชื่อว่าเขา “เข้าใจ” ฮิตเลอร์ได้อย่างทะลุปรุโปร่งโดยที่หารู้ไม่ว่าคนที่เขาไปประกาศออกสื่อว่า “ไม่มีความสนใจในสงคราม” กำลังจะเป็นผู้นำในหนึ่งในสงครามที่ใหญ่ที่สุดในโลก

    มีงานวิจัยและตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ที่ยืนยันลักษณะนี้ของมนุษย์เราได้เป็นอย่างดี ความคิดนี้อันตรายอย่างไร? จริงๆ แล้วมันอันตรายมากค่ะ เพราะความเชื่อที่ว่าเราเข้าใจคนอื่นๆ แล้ว ทำให้เราละเลยปัจจัยอื่นๆ หรือเรียกได้ว่ามั่นใจเกินไป จนทำให้ราอ่านคนแบบที่คนๆ นั้นเป็นจริงได้ยากขึ้น เราจะเชื่อใจคนอื่นไปก่อน จนกว่าจะมีเหตุผล ‘มากพอ’ ที่ขัดแย้งความเชื่อของเรา

    ตรงนี้ขอเน้นคำว่า “มากพอ” นะคะ มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า เราจะเชื่อใจว่าคนตรงหน้าพูดความจริงไปก่อน จนว่าจะมีข้อขัดแย้งที่เยอะพอให้เปลี่ยนความคิด ความหมายคือการที่มีข้อขัดแย้งเพียงข้อเดียวหรือน้อยเกินไป ไม่สามารถที่จะทำให้คนเปลี่ยนมาเป็นไม่เชื่อใจได้

    มีคดีความมากมายที่คนทำผิดอาชญากรรม ที่ผิดอย่างชัดเจน มีหลักฐาน มีพยานยืนยัน แต่ศาลกลับใช้เวลาหลายๆ ปีในการตัดสินว่าคนๆ นั้นผิดจริงหรือเปล่า เหตุผลง่ายๆ เพียงแค่ว่าลักษณะนิสัยของคนๆ นั้นไม่ได้สอดคล้องกับการก่ออาชญากรรม เช่น โค้ชฟุตบอลที่ใจดี หรือ หมอที่ทำหน้าที่มากว่า 10 ปี ตัวอย่างในประเด็นนี้มีเยอะมากในหนังสือเล่มนี้ ถ้าใครอยากรู้ในรายละเอียดแนะนำให้อ่านในเล่มนะคะ ผู้เขียนร้อยเรียงและเล่าเรื่องได้น่าติดตามมากค่ะ

    เราทำได้แย่มาก เวลาที่หน้าตา อารมณ์ และภาษากายไม่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริง

    เราเคยลองดูซีรีส์ Friends โดยที่ปิดเสียง ปิด Subtitle ไหมคะ เราจะค้นพบว่าเราดูรู้เรื่องสุดๆ เพราะหน้าตาของตัวละครจะบอกความรู้สึกได้โดยที่ไม่ต้องพูด หรือลองคิดภาพละครไทยช่อง 3 ที่หน้าตาและการแสดงออกของตัวร้ายมันร้ายสุดๆ ขมวดคิ้ว ปากเบะ ทำตาไม่เป็นมิตร แล้วนางเอกก็ดูเรียบร้อย ยิ้มแย้ม จิตใจดี โดยที่ยังไม่ต้องพูดเลยแม้แต่คำเดียว เราก็รู้แล้วว่าใครเป็นนางเอก ใครเป็นนางร้าย

    ละครเหล่านี้ทำให้เรามีความเข้าใจผิดว่า “ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ” หรือ การแสดงออกทางหน้าตาจะบอกพวกเราได้ว่าอีกคนนั้นมีความรู้สึกหรือเป็นคนนิสัยแบบใดซึ่งแน่นอนว่าในความเป็นจริงแล้ว มันไม่ใช่แบบนั้นเลย หนึ่งในตัวอย่างที่ยกมาในเล่มนี้คือ ให้ผู้ทดลองดูวีดีโอเพื่อจับว่าคนๆ นี้โกหกหรือไม่ โดยที่จะมีคนหนึ่งที่เป็นคนที่มีนิสัยขี้ตื่น หรือก็คือทำตาลุกลิก พูดติดๆ ขัดๆ ผู้เข้าร่วมการทดลอง 80% บอกว่าคนขี้ตื่นคนนี้โกหก ทั้งๆ ที่เธอพูดความจริง เพราะฉะนั้นจะสรุปได้ว่าพวกเราอ่านผู้อื่นออกได้แย่มากเลย ถ้าอาการมันไม่ตรงกับสิ่งที่อยู่ในใจ

    ถามว่าการที่เรารู้ข้อมูลเหล่านี้แล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ในเล่มนี้มีการยกตัวอย่างการนำไปใช่อยู่กรณีหนึ่ง คือการที่ตำรวจในเมืองแคนซัสซิตี้ ประเทศสหรัฐ พบปัญหาว่ามีอาชญากรรมเกิดขึ้นเยอะในพื้นที่หนึ่ง แต่ไม่ว่าจะทำยังไงก็ลดอาชญากรรมไม่ได้ เพิ่มรถสายตรวจก็ไม่ช่วยอะไร มีนักจิตวิทยาคนหนึ่งแนะนำว่าให้ลองใช้ความเข้าใจในข้อ (2) ความหมายคืออย่าเพิ่งเชื่อใจว่าคนๆ นี้จะบริสุทธิ์เพียงแค่เพราะว่ามีเหตุผลไม่พอ แต่ให้เรียกรถยนต์ทุกคันที่อาจจะมีโอกาสสร้างอาชญากรรมเพื่อตรวจสอบ ความหมายคือเปลี่ยนจากความเชื่อที่จะเชื่อใจ เป็นความเชื่อที่จะไม่เชื่อใจไปก่อน

    ซึ่งวิธีนี้ทำให้อาชญากรรมในพื้นที่เสี่ยงนี้ลดไปได้มาก จึงทำให้ตำรวจเมืองอื่นๆ เริ่มทำตาม แม้ว่าจะเป็นพื้นที่เสี่ยง หรือ พื้นที่ปลอดภัย….

    และในเดือนกรกฎาคม 2015 มีคดีความสะเทือนขวัญเกิดขึ้นจากการใช้ความเข้าใจนี้ ตำรวจนายหนึ่งเรียกผู้หญิงผิวสีคนหนึ่งให้จอดรถเพราะไม่เปิดไฟเลี้ยว เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่ตำรวจคนนี้เชื่อเรื่องที่ว่าจะไม่เชื่อใจไปก่อน ทำให้ปฏิบัติกับเธอเหมือนเป็นคนร้าย ผู้หญิงคนนี้จึงต้องเข้าคุกทั้งๆ ที่เธอเพียงแค่ขับรถไปทำงาน และสุดท้ายก็ทำให้เธอต้องฆ่าตัวตายในห้องขัง เป็นความโศกเศร้าของการ Overexploit หรือ การใช้ทฤษฎีและความเข้าใจในเรื่องนี้ แต่ไม่ได้ปรับให้เหมาะกับสถานที่และบริบท ทำให้เกิดความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

    ขอออกตัวว่าการรีวิวในวันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหนังสือเท่านั้น ยังมีตัวอย่างและประเด็นที่น่าสนใจอีกมากมายในหนังสือเล่มนี้ ที่พยายามจะชี้ประเด็นให้เห็นทั้งงานวิจัยเกี่ยวกับการเข้าใจมนุษย์ วิธีการใช้และข้อเสียของการใช้ที่มากเกินไปอีกด้วย เป็นการเขียนเล่าเรื่องที่สดใหม่ที่ครบถ้วนและกลมกล่อมมาก เป็นหนังสืออีกเล่มที่เราแนะนำเลยค่ะ

    Favorite quote of a book


    เรามักคิดว่าเราเป็นคนละเอียด ซับซ้อน เข้าใจยาก แต่คนที่เราไม่รู้จักน่ะ เข้าใจง่ายออก ทั้งๆที่คนที่เราไม่รู้จักไม่ได้เข้าใจง่ายเลย (หน้า 49)


    Score Explanation
    Writing Style: 9/10
    เราชอบสไตล์การเขียนของ Malcolm อยู่แล้ว จะเป็นสไตล์ที่ข้อมูลแน่นมาก และเล่าเรื่องแบบมีลีลาและน่าตื่นเต้น
    Time worthiness: 8/10
    เนื้อเรืองค่อนข้างยาวและมีตัวอย่างที่เยอะสำหรับประเด็นหลักที่อยากจะสื่อ
    Content Usefulness: 9/10
    มีประโยชน์มากกับทุกคน โดยเฉพาะสำหรับคนที่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนเยอะๆ เพราะทำให้มีวิธีในการจัดการกับคนอื่นๆได้ดีขึ้น

    จบไปแล้วกับรีวิว Talking to strangers ศิลปะแห่งการอ่านคน หนังสืออีกหนึ่งเล่มที่เราอยากแนะนำนักอ่านหลายๆ ท่านให้ได้ลองสัมผัสกัน หลังจากอ่านรีวิวจบหลายๆ ท่านคงเริ่มตระหนักกันมากขึ้นว่าเราเข้าใจคนรอบข้างได้มากน้อยแค่ไหนเพราะอย่างที่กล่าวไว้ว่ามนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก ก็หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้หลายๆ คนเข้าใจถึงธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน(โดยเฉพาะคนอื่น)ที่ยากจะเข้าใจได้อย่างแท้จริง สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเพจ รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก ที่มาแชร์ประสบการณ์หลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้กันค่ะ

    รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก
    รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก
    รีวิวทุกอย่างที่อ่านออก คนชอบอ่านหนังสือที่เริ่มต้นมาจากอยากทำสรุปให้ตัวเองอ่าน เพราะอ่านแล้วลืมว่าหนังสือเล่มนี้ดียังไง จนมาถึงเพจที่มีผู้ติดตามหลายหมื่น มาร่วมสังคมรักการอ่านด้วยกันนะคะ :)

    บทความล่าสุด

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้พัฒนาศาสตร์แห่งการสื่อสารและสร้างสัมพันธ์

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้มีผลงานมุ่งเน้นในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และบุคลิกภาพที่ดีให้แก่ผู้คนที่พบปัญหาด้านนี้ พร้อมทั้งได้สร้างงานเขียนและสถาบันที่ส่งเสริมให้คนมีความมั่นใจในตนเองได้มากขึ้น

    รีวิว เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก

    รีวิว "เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก" จากนักวาดภาพประกอบแพซ็องแท ที่มีผู้ติดตามกว่า 100000 คนจะมาบอกเล่าเรื่องราวความรักและชีวิตคู่ของเขาและภรรยาพร้อมกับแมวอีกสองตัว ให้คุณได้สมัผัสความอบอุ่นของความรักที่งดงาม

    อ่านตาม เยริ (Yeri) น้องสาวคนเล็กจาก red velvet

    อ่านตาม เยริ (Yeri) น้องเล็กของ red velvet ที่มากด้วยความสามารถและเสน่ห์ที่ใครๆ ต่างก็หลงใหลพร้อมๆ กับชั้นหนังสือที่เธอได้อ่านที่มีความน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้กัน จะมีเล่มไหนบ้างติดตามได้ในบทความนี้

    Battle of Stalingrad หนึ่งในสมรภูมิชี้ชะตาในสงครามโลกครั้งที่ 2

    ยุทธการที่สตาลินกราด (Battle of Stalingrad) หนึ่งในสมรภูมิที่ยากลำบากที่สุดในการต่อสู่ระหว่างมนุษย์ หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญอันนำมาสู่การตัดสินชี้ขาดของสงครามโลกครั้งที่และการสูญเสียเหลือคณานับ
    - Advertisement -spot_imgspot_img

    รู้จัก “โรคไต” กับ 150 ข้อควรรู้เกี่ยวกับภัยร้ายที่ถูกมองข้าม

    โรคไต หนึ่งในโรคร้ายที่มีผู้ป่วยมากมายพบปัญหากับโรคนี้ในปัจจุบัน ทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบาก มาทำความรู้จักโรคไตกันลึกซึ้ง พร้อมหนังสือแนะนำสำหรับดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคไตและหลีกเลี่ยงโรคนี้

    อ็องเดร ฌีด (André Gide) นักเขียนรางวัลโนเบลผู้ให้ความสนใจปัญหาสังคมและวัฒนธรรมฝรั่งเศส

    อ็องเดร ฌีด (André Gide) เนักเขียนชาวฝรั่งเศสผู้ชื่นชอบการสำรวจ แสวงหาความหมายและคุณค่าของชีวิต ตลอดจนกระทั่งปัญหาสังคมในชีวิตประจำวันของฝรั่งเศส ทั้งยังนำเอาเรื่องราวเหล่านั้นสร้างสรรค์ผลงานจนได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา

    บทความแนะนำ

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้พัฒนาศาสตร์แห่งการสื่อสารและสร้างสัมพันธ์

    เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) นักเขียนผู้มีผลงานมุ่งเน้นในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และบุคลิกภาพที่ดีให้แก่ผู้คนที่พบปัญหาด้านนี้ พร้อมทั้งได้สร้างงานเขียนและสถาบันที่ส่งเสริมให้คนมีความมั่นใจในตนเองได้มากขึ้น

    รีวิว เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก

    รีวิว "เราจะเป็นแดดจ้า ในวันที่ฟ้ามีเมฆมาก" จากนักวาดภาพประกอบแพซ็องแท ที่มีผู้ติดตามกว่า 100000 คนจะมาบอกเล่าเรื่องราวความรักและชีวิตคู่ของเขาและภรรยาพร้อมกับแมวอีกสองตัว ให้คุณได้สมัผัสความอบอุ่นของความรักที่งดงาม
    - Advertisement -spot_img

    เราคิดว่าคุณน่าจะชอบRELATED